เมนู

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสาธารณมญฺเญสํ แปลว่า ไม่ทั่วไป
แก่ชนเหล่าอื่น. ม อักษร ทำบทสนธิ เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อทุกฺขม-
สุขาย เวทนาย สมฺปยุติตา
ประกอบด้วยเวทนาที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข.
นิธิ อันโจรทั้งหลายลักไปไม่ได้ ชื่อว่า อโจราหรโณ. อธิบายว่า ย่อม
เป็นนิธิ ที่โจรทั้งหลายลักพาไปไม่ได้. ชื่อว่า นิธิ เพราะเขาฝังไว้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงพรรณนาคุณของบุญนิธิ ด้วยสองบทต้นอย่างนี้
แล้ว จากนั้นก็ทรงยังอุตสาหะให้เกิดในบุญนิธินั้นด้วยสองบทหลังจึงตรัสว่า
บุญนิธิอันใด ติดตามตนไปได้ ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น.
คาถานั้นมีความว่า เพราะเหตุที่ธรรมดาบุญนิธิไม่สาธารณะแก่ชน
เหล่าอื่น และเป็นนิธิที่โจรลักไปไม่ได้. แต่ก็มิใช่นิธิที่ไม่สาธารณะ และ
โจรลักไปไม่ได้อย่างเดียวดอก แท้จริง ยังเป็นนิธิที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า นิธิ
นั้น ฝังไว้ดีแล้ว อันใคร ๆ ผจญไม่ได้ ตามคนไปได้. นิธิใด ติดตาม
ในรูปได้ เพราะเหตุที่นิธินั้นเป็นบุญที่อย่างเดียว ฉะนั้น. ปราชญ์คือบุคคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธความรู้ ถึงพร้อมด้วยธิติคือปัญญา พึงทำบำเพ็ญบุญ
ทั้งหลาย.

พรรณนาคาถาที่ 10


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยังอุตสาหะให้เกิดแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ในบุญนิธิ ด้วยการพรรณนาคุณอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ชนเหล่าใด
อุตสาหะแล้ว ทำอุตสาหะนั้นให้สำเร็จผล ด้วยการทำบุญนิธิ บุญนิธิของชน
เหล่านั้น ย่อมให้ผลอันใด เมื่อทรงแสดงผลอันนั้นโดยสังเขป จึงตรัสว่า
นิธินั้น ให้ผลที่น่าใคร่ทุกอย่างแต่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.